งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน
งานของผู้ปฎิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการด้านความรู้ความชำนาญ ผลิตผลที่ได้และสถานการณ์ของงาน ผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะวิเคราะห์ภาระงานภายใต้การนิเทศของผู้จัดการโครงการในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนา ผู้จัดการโครงการอาจจะนำทีมซึ่งพัฒนาการประชุมเชิงปฏบัติการสามวันสำหรับการอุตสากรรม (three-day workshop) การออกแบบไม่จำเป็นต้องเป็นทีมเสมอไปในองค์กรเล็กๆอาจจะใช้ผู้ออกแบบเพียงคนเดียว ในการทำภาระการออกแบบการเรียนการสอนตารางที่3.เปรียบเทียบความสนใจและเป้าประสงค์ของผู้วิจัยและผู้ปฏิบติ
แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป
|
บทบาทของผู้วิจัย
|
บทบาทผู้ปฎิบัติ
|
ขั้นที่1.การวิเคราะห์
ขั้นที่2.การออกแบบ
ขั้นที่3.การพัฒนา
ขั้นที่4.การนำไปใช้
ขั้นที่5.ประเมินผล
|
|
|
↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔
ตารางที่4.บทบาทของผู้วิจัยการออกแบบการเรียนการสอน
นิยาม: บทบาทของผู้วิจัยการออกแบบการเรียนการสอน คือ สร้างความรอบรู้อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับขั้นตอนสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอน บทบาทกำหนดให้ระบุคำถามซึ่งจำเป็นต้องศึกษา วางแผนโครงการอาศัยสารสนเทศในการจัดทำโครงการและรายงานผลของโครงการ
ผลิตผลที่สำคัญ: บทบาทนี้ให้ผลิตผลคือทฤษฎีกำหนด ทฤษฎีการเรียนการสอนสารสนเทศจากตัวแปร วิธีการ บทความรายงาน ตำรา หนังสือ โครงร่างงานวิจัย
สมรรถภาพสำคัญ: ข้อสันนิษฐานเชิงคำถาม วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สมมติฐาน การเลือกวิธีการ การออกแบบงานวิจัย ตลอดจนการสืบสวนสิ่งแวดล้อม
↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔↔ความเห็น:นักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอนจำเป็นต้องให้ความสนใจในบางส่วนของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนมากกว่ากระบวนการทั้งหมด ผู้วิจัยต้องมีสมรรถภาพที่แข็งแกร่งในการวิจัยเชิงปริมาณ และให้ความสนใจกับการพิมพ์ เผยแพร่ และความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
งานออกแบบ
พิสัยของงาน (Job) เป็นไปตามสถานการณ์และระดับที่แตกต่างกันของผู้ชำนาญการบางครั้งผู้ออกแบบการเรียนการสอนทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้ชำนาญการในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการ ในบางงานเรียกผู้ออกแบบว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่มีสมรรถภาพในการดำเนินโครการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด พิสัยของงานไม่เพียงแค่เกี่ยวข้องกับหน้าที่มีเฉพาะเจาะจงพิเศษแต่บางงานต้องการระดับความแตกต่างของผู้นำชาญการ (expertise)
ผลิตผลของการออกแบบ
ไม่ว่าจะเป็นงานที่ตั้งสมมติฐานไว้ หรืองานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายของผลิตผลก็ตาม จะมีขอบเขตที่แตกต่างและซับซ้อน งานการออกแบบการเรียนการสอนก็เช่นกันขอบเขตรวทถึงความแตกต่างของขนาดและเนื้อหาความซับซ้อนรวมถึงความแตกต่างของหลักสูตรหรือสื่อ ในระดับที่เล็กที่สุดของขอบเต คือ แผนการสอน (Lesson plans) และหน่วยหรือชุดโมดุล (Modules) ระดับต่อไปรวมถึงรายวิชา (Courses) และหน่วย (Unit) รายวิชาหลักสูตรและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวอย่างของผลิตผลที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ ระดับสูงสุดของระดับความซับซ้อน คือ สื่อการเรียนรู้ซึ่งมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยอาศัยสื่อทางโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์เข้าช่วย ระดับต่ำสุดของความซับซ้อน คือ กระดาษและดินสอ และสำหรับโสดทัศนวัสดุเป็นระดับกลาง
ที่มา พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น