ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน
ระบบการเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ (Smith & Ragan, 1999, pp. 8-9., Dick, carey, Carey, 2001, p.11)
1) ระบบการเรียนการสอนเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จัดวางองค์ประกอบของการเรียนการสอน ต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ ทำให้ครูรู้จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลผู้เรียน ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ครูในการเตรียมการสอนทำให้เกิดความพร้อมในการ ดำเนินงาน
2) ส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือสามารถควบคุมการดำเนินงานให้ บรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และประหยัดทรัพยากร รวมทั้งเวลา ดีกว่าการจัดการเรียนการสอนที่ขาดระบบ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน เพราะไม่ทราบจุดมุ่งหมายชัดเจนและ ไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานได้
3) ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม เพราะมีระบบควบคุมกระบวนการดำเนินการทำให้ทราบว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียนเกิดจากปัญหาการ ดำเนินงานในส่วนใด เพื่อหาทางแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4) ช่วยให้ครูได้นำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง การเรียนการสอนให้มีคุณภาพดีขึ้น
5) การน าวิธีการเชิงระบบไปใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทาง การศึกษาต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้อย่าง กว้างขวาง
การลงทุนที่ประสบความสำเร็จ หมายถึง การที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้ประโยชน์หากเปรียบเทียบกับการทำงานทางธุรกิจแล้ว ประโยชน์ย่อมหมายถึงกำไร เจ้าของกิจการได้กำไรลูกค้าพอใจในราคา คุณภาพ และบริการ คนงานและลูกจ้างได้รับค่าแรงงานที่เหมาะสม และมีความรู้สึกที่ดีต่อบริษัท ในทำนองเดียวกัน นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนย่อมได้ประโยชน์จากการเรียนการสอนไม่มากก็น้อย ดังที่ ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้กล่าว
- ผู้บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกษาและการเรีนการสอนย่อมต้องการความมั่นใจในประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้งบประมาณประหยัดที่สุด
- นักออกแบบการสอน ย่อมต้องการความมั่นใจว่าโปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรมที่น่าพอใจ ซึ่งตัวบ่อชี้ที่สำคัญในความพอใจก็คือผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
- ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถอื่นๆที่จำเป็นรวมทั้งต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
- ผู้เรียนต้องการความสำเร็จในการเรียน ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนานและพอใจ (ไชยยศ, 2533:14)
ออร์แลนสกี และสตริง (Oransky and Stering, 1981) ได้สรุปผลจากการวิจัยการสอนรายวิชาเทคนิคต่างๆ ด้านการทหารที่มีการออกแบบระบบการเรียนการสอนเป็นอย่างดีว่าสามารถลดเวลาการสอนราชวิชาเหล่านั้นลงได้จาก 25.30 สัปดาห์ เหลือเพียง 9.6 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามรายวิชาดังกล่าวที่เป็นรายงานผลวิจัยนั้น เป็นรายวิชาด้านการทหาร ยังไม่มีรายงานผลการวิจัยรายวิชาอื่น (ในต่างประเทศ) ที่พัฒนาขึ้นมาโดยกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแล้วกดเวลาการสอนได้ สำหรับในประเทศไทยอาจจกล่าวได้ว่า ระบบการสอนของโครงการส่งเสริม สมรรถภาพการสอน (Reduce Intructional Time : RIT) นั้นเป็นการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนที่ผลการวิจัยระบุว่าสามารถลดเวลาการสอนของครู และเพิ่มประเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี (ไชยยศ, 2533:14)ที่มา https://sites.google.com/site/bthreiyn1234/prayochn-laea-khx-cakad-khxng-kar-chi-rabb-kar-reiyn-kar-sxn และ พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น