Blinking Pink Hello Kitty

รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย

รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย
ผู้เขียนจะนำเสนอ 4 รูปแบบดังนี้
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดยสุมน อมรวิวัฒน์
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ พัฒนาโดย สุมน อมรวิวัฒน์
1.3 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดเป็นเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมไทย พัฒนา โดยหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA) พัฒนาโดย ทิศนา แขมมณี
รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดยสุมน อมรวิวัฒน์ 
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
สุมน อมรวิวัฒน์ (2533 : 168 – 170) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ขึ้นมา จากแนวคิดที่ว่า การศึกษาที่แท้ควรสัมพันธ์สอดคล้องกับการดําเนินชีวิต ซึ่งต้องเผชิญกับการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งมีทั้งทุกข์ สุข ความสมหวังและความผิดหวังต่างๆ การศึกษาที่แท้ควรช่วยให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น และสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้โดย
1. การเผชิญ ได้แก่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจภาวะที่ต้องเผชิญ 
2. การผจญ คือการเรียนรู้วิธีต่อสู้กับปัญหาอย่างถูกต้องตามทํานองคลองธรรมและมีหลักการ
3. การผสมผสาน ได้แก่การเรียนรู้ที่จะผสมผสานวิธีการต่างๆ เพื่อนําไปใช้แก้ปัญหาได้สําเร็จ
4. การเผด็จ คือ การลงมือแก้ปัญหาให้หมดไป โดยไม่ก่อใจโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องต่อไปอีก
 ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการ อาทิ กระบวนคิด ( โยนิโสมนสิการ) กระบวนการเผชิญสถานการณ์ กระบวนกา กระบวนการประเมินค่าและตัดสินใจ กระบวนการสื่อสาร ฯลฯ รวมทั้งพัฒนาคุณธรรม จริยะ การแก้ปัญหาและการดํารงชีวิต
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
กระบวนการดําเนินการมีดังนี้ (สุมน อมรวิวัฒน์, 2533 : 170 - 171 ; 2542 : 55 - 146)
1. ขั้นนํา การสร้างศรัทธา
1.1 ผู้สอนจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสมกับเนื้อหา ของบทเรียน และเร้าใจให้ผู้เรียนเห็นความสําคัญของบทเรียน
1.2 ผู้สอนสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน และแสดงความรักความเมตตาความ จริงใจต่อผู้เรียน
2. ขั้นสอน
2.1 ผู้สอนหรือผู้เรียนนําเสนอสถานการณ์ปัญหา หรือกรณีตัวอย่าง มาฝึก ทักษะการคิดและปฏิบัติในกระบวนการเผชิญสถานการณ์
2.2 ผู้เรียนฝึกทักษะการแสวงหาและรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ และ หลักการต่างๆ โดยฝึกหัดการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารกับแหล่งอ้างอิงหลายๆ แหล่ง และตรวจสอบ ลักษณะของข้อมูลข่าวสารว่าเป็นข้อมูลข่าวสารที่ง่ายหรือยาก ธรรมดาหรือซับซ้อน แคบหรือกว้าง คลุมเครือหรือชัดเจน มีความจริงหรือความเท็จมากกว่า มีองค์ประกอบเดียวหรือหลายองค์ประกอบ ระบบหรือยุ่งเหยิงสับสน มีลักษณะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม มีแหล่งอ้างอิงหรือเลื่อนลอย มีเจตนา ดีหรือร้าย และเป็นสิ่งที่ควรรู้หรือไม่รู้
2.3 ผู้เรียนฝึกสรุปประเด็นสําคัญ ฝึกการประเมินค่า เพื่อหาแนวทางแกะ ว่าทางใดดีที่สุด โดยใช้วิธีคิดหลายๆ วิธี (โยนิโสมนสิการ) ได้แก่ การคิดสืบสาวเหตุปัจจัย แบบแยกแยะส่วนประกอบ การคิดแบบสามัญลักษณ์ คือคิดแบบแก้ปัญหา คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ คิดให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างหลักการและความมุ่งหมาย คิดแบบคุณ คิดแบบคุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม คิดแบบใช้อุบายปลุกเร้าคุณธรรมและคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน
2.4 ผู้เรียนฝึกทักษะการเลือกและตัดสินใจโดยการฝึกการประเมินค่าตามเกณฑ์ที่ถูกต้องดีงาม เหมาะสม ฝึกการวิ ใช้หลักการ ประสบการณ์ และการทํานาย มาใช้ในการเลือกหาทางเลือก
2.5 ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามทางเลือกที่ได้ให้ไว้ ผู้สอนให้คําปรึกษาและแนะนำฉันกัลยาณมิตร โดยปฏิบัติให้เหมาะสมกับหลักสัปปุริสธรรม 7
 3. ขั้นสรุป รูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับความสามารถและวัย
3.1 ผู้เรียนแสดงออกด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การพูด เขียน แสดง หรือกระทําใน 
3.2 ผู้เรียนและผู้สอนสรุปบทเรียน
3.3 ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนการสอน 
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ 
ผู้เรียนจะได้พัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหา และสามารถคิดและ ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
แบบการเรียนการสอนการคิดเป็นเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมไทย โดย หน่วย ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา 
ก.ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2537) ได้พัฒนารายวิชา “การคิดเป็นเพื่อ - มาคณภาพชีวิตและสังคมไทย” ขึ้น เพื่อพัฒนานักเรียนระดับมัธยมศึกษาให้สามารถคิดเป็น ซะงและเข้าใจตนเอง รายวิชาประกอบด้วยเนื้อหา 3 เรื่อง คือ 
1. การพัฒนาความคิด (สติปัญญา) 
2. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (สัจธรรม)  
3. การพัฒนาอารมณ์ ความรู้สึก
กิจกรรมที่ใช้เป็นกิจกรรมปฏิบัติการ 4 กิจกรรม ได้แก่ 1. กิจกรรมปฏิบัติการ “พัฒนากระบวนการคิด” 2. กิจกรรมปฏิบัติการ “พัฒนารากฐานความคิด" 3. กิจกรรมปฏิบัติการ “ปฏิบัติการในชีวิตจริง” และ 4. กิจกรรมปฏิบัติการ “ประเมินผลการพัฒนาประสิทธิภาพของชีวิต และงาน” ในส่วนกิจกรรมปฏิบัติการพัฒนากระบวนการคิด หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ได้พัฒนาแบบแผนในการสอนซึ่งประกอบด้วยขั้นการสอน 5 ขั้น โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับการคิด เป็น ของ โกวิท วรพิพัฒน์ (อ้างถึงใน อุ่นตา นพคุณ, 2530 : 29 - 36) ที่ว่า “คิดเป็น” เป็นการแสดง ศักยภาพของมนุษย์ ในการชี้นําชะตาชีวิตของตนอง โดยการพยายามปรับตัวเองและสิ่งแวดล้อมให้ ผสมผสานกลมกลืนกันด้วยกระบวนการแก้ปัญหา ซึ่งประกอบด้วยการพิจารณาข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมและสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ เพื่อเป้าหมายที่สําคัญคือการ คํารงชีวิตอย่างมีความสุข
 ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งช่วยพัฒนากระบวนการคิด ให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็น คือคิดโดย พิจารณาข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมและข้อมูลทาง วิชาการ เพื่อประโยชน์ในการดํารงชีวิตในสังคมไทยอย่างมีความสุข
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นสืบค้นปัญหา เผชิญสถานการณ์ในวิถีการดํารงชีวิต ผู้สอนอาจ นําเสนอสถานการณ์ในวิถีการดํารงชีวิต ผู้สอนอาจนําเสนอสถานการณ์ให้ผู้เรียนสืบค้นปัญหา หรือ อาจใช้สถานการณ์และปัญหาจริงที่ผู้เรียนประสบมาในชีวิตของตนเอง หรือผู้สอนอาจจัดเป็น กานการณ์จําลอง หรือนําผู้เรียนไปเผชิญสถานการณ์นอกห้องเรียนก็ได้ สถานการณ์ที่ใช้ใน รพกษา อาจเป็นสถานการณ์เกี่ยวกับตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม หรือหลักวิชาการก็ได้ เช่นสถานการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม ครอบครัว การเรียน การทํางาน และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ขั้นรวบรวมข้อมูลและผสมผสานข้อมูล 2 ด้าน เมื่อค้นพบปัญหาแล้ว ให้ผู้เรียนศึกษาข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่เอ สถานการณ์นั้น โดยรวบรวมข้อมูลที่ให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านที่เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม และด้านหลักวิชาการ
ขั้นที่ 3 ขั้นการตัดสินใจอย่างมีเป้าหมาย เมื่อมีข้อมูลพร้อมแล้วให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหา โดย ไตร่ตรองถึงผลที่จะเกิดขึ้นทั้งกับตนเอง ผู้อื่น และสังคมโดยรวม และคคสนใจเลือกทางเลือกที่ดี คือทางเลือกที่เป็นไปเพื่อการเกื้อกูลต่อชีวิตทั้งหลาย
ขั้นที่ 4 ขั้นปฏิบัติและตรวจสอบ เมื่อตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติได้แล้วให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง หรือร่วมมือกับกลุ่มตามแผนงานที่กําหนดไว้อย่างพากเพียร ไม่ท้อถอย
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล และวางแผนพัฒนา เมื่อปฏิบัติตามแผนงานที่กําหนดไว้ลุล่วงแล้ว ให้ผู้เรียนประเมินผลการปฏิบัติว่า 1 การปฏิบัติประสบผลสําเร็จมากน้อยเพียงใด มีปัญหาอุปสรรคอะไร และเกิดผลดี ผลเสียอะไรบ้าง และวางแผนงานที่จะพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัตินั้นให้ได้ผลสมบูรณ์ขึ้น หรือวางแผนงานในการ พัฒนาเรื่องใหม่ต่อไป
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ  
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2537) ได้ทดลองใช้รูปแบบดังกล่าวในการ สอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาแล้วพบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดเป็น สามารถแก้ปัญหา ต่างๆ ได้มีความเข้าใจในตนเองและผู้อื่นมากขึ้น เข้าใจระบบความสัมพันธ์ในสังคม และเกิดทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
ที่มา  พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น