Blinking Pink Hello Kitty

ทักษะสำหรับโลกอนาคต






คิดยกกำลังสอง : ทักษะสำหรับโลกอนาคต (Skills for the Future)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โลกอนาคต
 Information มีอยู่ 4 อย่างได้แก่ 
  • จินตนาการ 
  •  แรงดลใจ
  •   ความเข้าใจกลุ่มลึก
  •  ญานทัศน์
 จินตนาการ การคิดสร้างภาพในจิตใจหรือพลังของจิตที่สร้างภาพขันใหม่ภายในใจ
ให้น่าพอใจกว่า สวยกว่า เป็นระเบียบกว่าหรือร้ายกาจกว่าสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไป จินตนาการทำให้เกิดภาพขึ้นในสำนึกเรียกว่า “จินตภาพ” จินตภาพ เหล่านี้เชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่ได้นับสะสมอยู่ภายใน จินตนาการเป็นผลมาจากอวัยวะสัมผัสของมนุษย์ปะทะกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เกิดเป็นประสบการณ์ สั่งสมแล้วจึงประยุกต์โดยการเพิ่มเติม ตัดทอนหรือผสมผสานประสบการณ์ๆถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปะหรือเกิดจินตภาพนึกคิดไปเอง อาจจะมีหรือไม่มี ในโลกนี้ก็ได้ เช่น บทกวี นวนิยาย ใต้ท้องทะเลลึก ใต้ดินคนป่า โลกในอนาคต ความฝันหรือการเขียนภาพ หลักการเขียนภาพตามจินตนาการ
การเขียนภาพตามจินตนาการ จะทำได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เขียนภาพนั้นเป็นคนช่างสังเกต รู้จักวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่างๆที่ต้องการนำเสนอ โดยนำมาเชื่อมโยงกับประสบการณ์ทางศิลปะซึ่งหมายถึงประสบการณ์ในทางฝึกปฏิบัติและประสบการณ์จากการได้ศึกษาผลงานศิลปะทั่วๆไป ซึ่งจะสามารถสร้างผลงานศิลปะให้แปลกแตกต่างไปจากที่เคยพบเห็นได้ ดังนั้นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเกิดจากพื้นฐานประสบการณ์ ที่เชื่อมโยงกับความนึกคิดและจินตนาการให้เกิดผลงานในรูปแบบใหม่ๆ
 แรงดลใจ คนเราเกิดมาเพื่อเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่ในโลกด้วยความหวังว่า อยากมีความสุขด้วยกันทุกคน เพียงแต่วิธีการแสวงหาอาจจะแตกต่างกันออกไป ทว่าศูนย์รวมของคำตอบก็ไปอยู่ที่ความรู้สึกเดียวกัน คือต้องการสัมผัสกับความรู้สึกที่นำมาซึ่งความพอใจให้กับตัวเองเป็นสำคัญ เมื่อการค้นหาความสุขเป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องสร้างให้มีสำหรับตัวเอง สิ่งที่ตามมาก็คือ “แรงดลใจ" เพราะเพียงอาศัยความคิดที่ช่วยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างอาจหาญแต่เพียงอย่างเดียว ย่อมไม่เพียงพอที่จะทำให้คนเรารู้สึกมั่นใจในการแสวงหาได้ บางครั้งต้องอาศัยเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมอย่างอื่นมาเป็นแรงดลใจอีกชั้นหนึ่งด้วย การแสวงหานั้นจึงชัดเจนและประสบความสำเร็จได้
ความเข้าใจกลุ่มลึก  การที่มนุษย์ เข้าใจ อะไรสักอย่างหนึ่ง มันคืออะไรความเข้าใจ เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งใช่หรือไม่กระบวนการทั้งหมดของความเข้าใจคืออะไรเราเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ครบถ้วนบริบูรณ์หรือไม่ระหว่างเข้าใจตนเอง กับ เข้าใจคนอื่น อันไหนยากกว่ากัน ระดับความเข้าใจมีหลายระดับ โดยความเข้าใจนั้นคือ การรู้ ใน สิ่งที่ถูกรู้ ระดับสูงสุด คือ รู้แจ้งหรือการตรัสรู้   หรือเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง อาการที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งความเข้าใจต่าง ๆ เกิดจากการใคร่ครวญด้วยตนเอง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ระดับต่ำลงมาก็คือ รู้รอบ ก็คือรู้แยกแยะองค์ประกอบภายนอก ภายในของสิ่งที่ถูกรู้ หรือการวิเคราะห์สังเคราะห์ ความเข้าใจในระดับนี้เกิดจากความใคร่ครวญด้วยตนเองเช่นกัน แต่ไม่มีผลทางด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ระดับต่ำลงมา คือ รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง คือ เข้าใจไม่แทงตลอด รู้เป็นบางส่วนเหมือนตาบอดคลำช้างหรือรู้ไม่จริง  รู้ไม่ชัด อันอาจรับรู้ข้อมูล แต่ไม่สามารถใคร่ครวญด้วยตนเอง ระดับต่ำที่สุด คือ รู้ แต่ไม่เข้าใจในสิ่งที่ถูกรู้ หรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกรู้อันเนื่องมาจากความผิดพลาดด้านประสาทสัมผัส และไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  
ญานทัศน์ จิตสำนึกขั้นสูงไปกว่าเพื่อตนเองและเพื่ออุดมการณ์ การรู้และการเห็น การเห็นคือการรู้จริง, การเห็นด้วยการรู้จริง, การเห็นอย่างประเสริฐ คือการรู้อย่างแจ่มแจ้ง รวมไปถึงวิปัสสนาญาณ ทิพจักขุญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ปัจเวกขณญาณ สูงสุดถึงสัพพัญญุตญาณ ในที่บางแห่งอธิบายว่าแม้ความเห็นที่บริสุทธิ์หรือทิฏฐิวิสุทธิ์ก็เรียกว่าญาณทัศนะได้
samsung
 Education for the Future ปรับห้องเรียน เปลี่ยนอนาคต ผ่าทางตันวิกฤติการศึกษาไทย ชูทางออกอนาคตการศึกษาศตวรรษที่ 21 ความท้าทายหนึ่งเกิดจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป คือเด็กทุกวันนี้ถูกเรียกว่า digital native คือคนที่เกิดมาในยุคดิจิทัล ในส่วนทักษะศตวรรษใหม่ที่อยากกล่าวถึง คือ อยากจะยกคำกล่าวของบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา “ผมขอเรียกร้องให้ผู้ว่าการรัฐและผู้นำด้านการศึกษาของรัฐช่วยกันพัฒนามาตรฐานและวิธีการประเมิน ที่ไม่ได้วัดแค่นักเรียนจะสามารถกากบาทข้อสอบได้ แต่วัดว่าพวกเขามีทักษะศตวรรษใหม่ เช่น การแก้ไขปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความเป็นผู้ประกอบการ และความสร้างสรรค์ หรือเปล่า” คือเขาอยากสร้างเด็กที่ไปไกลกว่าการท่องจำ และมีทักษะที่จะจัดการปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น อ่านต่อได้ที่ https://thaipublica.org/2015/03/education-for-the-future_1/ 
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
ทักษะ A S K คือ 
 Attitude เริ่มต้นที่ทัศนคติ ความสำเร็จของเรา ผลลัพธ์ที่เราจะได้ในชีวิต จะเท่ากับ การลงมือทำ x ทักษะที่เรามี x ทัศนคติ นี่คือ 3 ปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ ใน 3 ปัจจัยนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทัศนคติ เพราะมันติดลบได้
ยกตัวอย่าง สมมมติมีคนอยู่สองคน
คนแรก เป็นที่ลงมือทำก็ไม่ได้เยอะ ทักษะก็ไม่ได้สูง
แต่เขาเป็นคนที่มีทัศนคติที่ดี คิดบวก ให้ทุกข้อเป็น 1
ลองนำมาคิดตามสมการจะได้
การลงมือทำ x ทักษะที่เรามี x ทัศนคติ
 1 x 1 x 1 = 1
คนที่สอง เป็นคนที่ลงมือทำเยอะมาก และ เป็นคนที่เก่งมาก
ให้ 10 เลย แต่เป็นคนที่ ทัศนคติติดลบ คิดลบตลอดเวลาให้ -1
ลองนำมาคิดตามสมการจะได้
การลงมือทำ x ทักษะที่เรามี x ทัศนคติ
 10 x 10 x -1 = - 100 ?
กลายเป็นว่าผลลัพธ์ของ คนแรก กับ คนที่สอง ผลลัพธ์ของคนแรก ที่ลงมือทำไม่ได้เยอะ ไม่ได้เก่งมาก แต่มีที่ทัศนคติที่ดี คิดบวก กลับดีกว่า
 Skill ทักษะ ความหมาย ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552 หมายถึง ความชำนาญ ความชัดเจน และความชำนิชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้จากการเรียนรู้ ได้แก่ ทักษะการอาชีพ การกีฬา การทำงานร่วมกับผู้อื่น การอ่าน การสอน การจัดการ ทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางภาษา ทักษะทางการใช้เทคโนโลยี ฯลฯ การใช้ทักษะมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งสามารถแบ่งทักษะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ออกเป็น 10 ประการ ดังนี้
  1. ทักษะการตัดสินใจ (Decision making) เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ
  2. ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) เป็น ความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทางกายและจิตใจ จนอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข
  3. ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็น ความสามารถในการคิดที่จะเป็นส่วนช่วยตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยการคิดสร้าง สรรค์ เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ
  4. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และประเมินปัญหา หรือสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวเราที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
  5. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communication) เป็น ความสามารถในการใช้คำพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรม และสถานการณ์ต่างๆ
  6. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal relationship) เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน และสามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว
  7. ทักษะการตระหนักรู้ในตน (Self-awareness) เป็น ความสามารถในการค้นหารู้จักและเข้าใจตนเอง
  8. ทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เป็น ความสามารถในการเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ
  9. ทักษะการจัดการกับอารมณ์ (Coping with emotion) เป็น ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น
  10. ทักษะการจัดการกับความเครียด (Coping with stress) เป็น ความสามารถในการรับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความเครียด และแนวทางในการควบคุมระดับความเครียด เพื่อให้เกินการเบี่ยงเบนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่เกิดปัญหา ด้านสุขภาพ
 Knowledge ข้อมูลทื่อยู่ในตัวคนหรืออยู่ในสมอง ซึ่งการฝึกอบรมที่ดี ก็คือ การทำให้ข้อมูลเข้าไปอยู่ในสมองของผู้รับการฝึกให้มากที่สุดจึงจะทำให้ผู้รับการฝึกเกิดการเรียนรู้มากที่สุด ด้วยความรู้ในสมองของคนเรานั้นจะมี 2 ลักษณะ 
การจำ ( Remembering) การเรียนรู้บางอย่างเพียงแต่ให้ผู้รับการฝึกจำได้ก็พอ เช่น สามารถจำได้ว่า ไขควงปากแบนมีลักษณะอย่างไร เป็นต้น ลักษณะของการจำก็คือ การให้ผู้รับการฝึกสามารถบอกได้ท่องได้นั่นเอง
ความเข้าใจ (Understanding) หมายถึง การที่ผู้รับการฝึกสามารถอธิบายได้ เช่น ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เป็นต้น
Cognitive Domain ด้านสติปัญญา ความฉลาด (พุทธิพิสัย)
  • รู้
  • เข้าใจ
  • นำไปใช้ (ประยุกต์)
  • วิเคราะห์
  • สังเคราะห์
  • ประเมินผล
ที่มา  http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=17182, https://www.gotoknow.org/posts/47624, http://oknation.nationtv.tv/blog/wattanaz/2008/11/22/entry-1,https://www.im2market.com/2017/11/28/4668,http://home.dsd.go.th/kamphaengphet/km/information/dacum/04DACUM.html?categoryID=CAT00003228

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น