Blinking Pink Hello Kitty

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ปัจจุบันสังคมไทยมีกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากจนส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์หลายรูปแบบขึ้นในสังคมทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม การเมือง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังส่งผลให้เกิดกระแสเรียกร้องการปฏิรูปการศึกษาขึ้นเพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองของประเทศอย่างแท้จริง เป้าหมายการจัดการศึกษาจะต้องมุ่งสร้างสรรค์สังคมให้มีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศชาติโดยรวมโดยตรงให้มีคุณลักษณะที่มีศักยภาพและความสามารถที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ความสำเร็จ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ  วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะต่างๆที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเอง และได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิดการจัดการศึกษานี้ เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ
  • ความหมายการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือแนวจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา (กระบวนการคิด) กระบวนทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพัธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆใช้หลากหลายวิธีการสอนหลากหลายแหล่งความรู้สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลายคือ พหุปัญญา รวมทั้งนั้นการวัดผลอย่างหลากหลายวิธี (พิมพันธ์ เดชะคุปต์, 2550) 
  • หลักการพื้นฐานของแนวคิดที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัดและยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา การจัดการเรียนการสอนจึงเป็นการจัดการบรรยากาศ จัดกิจกรรม จัดสื่อจัดสถานการณ์ ฯลฯ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพผู้สอนจึงมึความจำเป็นที่จะต้องรู้จักผู้เรียนให้ครอบคลุมอย่างรอบด้าน และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปเป็นพื้นฐานการออกแบบหรือวางแผนการเรียนรู้ได้สอดคล้องกัับผู้เรียน
  •   องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ
  1.   การ บริหารการจัดการ เป็นองค์ประกอบที่สนับสนุนส่งเสริิมการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญโดยเฉพาะการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยที่เน้นการพัฒนาทั้งระบบการพัฒนาทั้งระบบของมหาวิทยาลัย หมายถึงการดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยให่ไปสู้เป้าหมายเดียวกกันคือคุณภาพของผู้เรียนตามวิสัยทัศน์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  2. การจัดการเรียนรู้ แสดงถึงการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมประกอบด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้ บทบาทของผู้สอนและบทบาทของผู้เรียนการจัดการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนเป็นสำคัญจะทำได้สำเร็จเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนได้แก่ ผู้สอนและผู้เรียน มีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับความหมายของการเรียนรู้
  3. การเรียนรู้ของผู้เรียน คือ สำคัญที่สุดและนับว่าเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากเดิมที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ และสอดคล้องกับองค์ประกอบด้านการจัดการเรียนรู้ 
  •  เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ มี 3 เทคนิคด้วยกัน
  1.  เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่างๆโดยใช้กระบวนการต่างๆเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น
  2.  เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับคนอื่น คือ ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้สอนอีกประการหนึ่งคือ ผู้สอนเข้าใจว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ต้องจัดโต๊ะเก้าอี้ให้ผู้เรียนได้นั่งร่วมกัน จึงจัดเก้าอี้ให้นั่งรวมกลุ่มนั้นทำเพื่ออะไร ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ เมื่อผู้เรียนจะต้องทำร่วมกัน จึงจัดเก้าอี้ให้นั่งรวมกันเป็นกลุ่ม ไม่ใช่นั่งรวมกลุ่มกันแต่ต่างคนต่างทำงานตนเอง การจัดให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันผู้สอนประเภทหนึ่งที่ผู้สอนโดยให้ผู้เรียน เรียนรู้ร่วมกัน (Cooperative learning) 
  3. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ คือ ผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปใช้ในการดำเนิน สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจังต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์หรือให้ผู้เรียนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่างๆเช่นให้วาดภาพแสดงรายละเอียดที่เรียนรู้จากการอ่านบทประพันธ์ในวิชาวรรณคดี ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้นี้ ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในลักษณะต่างๆและเปิดโอกาสให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความสามารถเฉพาะที่ผู้เรียนแต่ละคนมีแตกต่างกัน นอกจากการใช้เทคนิคการออกคำสั่งให้ผู้เรียนแสดงการทำงานในลักษณะต่างๆ
  • ประเภทของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
  1. การสอบแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Base Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการเรียน ผู้เรียนจะคิดวิเคราะห์ปัญหา ตั้งสมมุติฐาน อันเป็นที่มาของปัญหา และหาทางทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ผู้เรียนจะต้องมีความรู้พื้นฐานที่จะเรียนรู้เนื้อต่างๆมาก่อน เพื่อจะสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ โดยกระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลักได้ 
  2. การสอนแบบนิรมิตวิทยา (Constructivism) เป็นการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของตนเองโดยมีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่เกิดขึ้นกับความรู้เดิมที่เรียนมีอยู่แล้ว การสร้างองค์ความรู้ใหม่ของผู้เรียนอาจได้จากการดำเนินกิจกรรมการสอนที่ให้ผูเรียนศึกษาค้นคว้า
  3. การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกืดความคิดรวบยอด (Concep Attainment) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนทราบถึงคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง 
  4. การสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Cooperative Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนร่วมมือกันทำงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และประสานงานกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียนลักษณะของการจัดการเรียนการสอน 1.จัดชั้นเรียนโดยการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆประมาณ3-6คนโดยจัดคละกันตามความสามารถทางการเรียนมีทั้งเก่งปานกลางและอ่อน 2.ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและรับผิดชอบการเรียนรู้ของเพื่อนๆภายในกลุ่มของตนเองด้วย 3.สมาชิกทุกคนในกลุ่ม จะต้องร่วมมือในการทำงานอย่างเต็มความสามารถโดยสนับสนุนยอมรับและไว้วางใจซึ่งกันและกันเพื่อให้สมาชิกทุกคนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
  •  การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถ ในการใช้ความคิดพิจารณา ตัดสินเรื่องราว ปัญหา ข้อสงสัยต่างๆอย่างรอบคอบและมีเหตุผล เพื่อนำไปสู่การตัดสินเพื่อเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดกับปัญหาที่นำมาใช้ในบทเรียนขั้นตอนการสอนดังนี้ 
                                1. ผู้สอนนำเสนอปัญหาซึ่งเป็นคำถามที่เร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิดผู้เรียนตอบ                                                คำถามของผู้สอนโดยให้คำตอบที่หลากหลาย
                                2. ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดโดยการอภิปรายร่วมกัน                                        หรือใหค้นคว้าจากแหล่งความรู้เท่าที่มีอยู่
                                3. ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันคัดเลือกคำตอบที่ตรงกับประเด็นปัญหา
                                4. ผู้สอนให้ผู้เรียนสรุปคำตอบที่เด่นชัดที่สุด
  • การจััดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การประเมินเป็นกระบวนการสำคัญที่มีส่วนสำคัญที่มีส่วนเสริมสร้างความสำเร็จให้กับผู้เรียนและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลจำเป็นต้องมีลักษณะที่สอดคล้องกันแต่ในการจัดการศึกษาที่ผ่านมากลับมีเหตุการณ์ที่ทำให้ดูเหมือนการสอนกับการประเมินผลเป็นคนละส่วน แยกจากกัน การประเมินผลน่าจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้สอนได้ข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน แนวคิดในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสม คือ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง
                        1. เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อมๆกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งสามารถ                              ทำได้ตลอดเวลาทุกสภาพการณ์
                        2. เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริงๆ
                        3. เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
                        4. ใช้ข้อมูลหลากหลาย ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมิน                                    ตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
                        5. เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ความสามารถหลายๆ                                  ด้าน
                        6. การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
                        7. เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียนผู้ปกครอง                                  และผู้สอน
                  วิธีการและเครื่องมือการวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็สำคัญ
                        1. ศึกษาวัตถุประสงค์ของการประเมิน เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนรอบด้านดังนั้น                                จึงใช้วิธีการที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เช่น การสังเกต สัมภาษณ์ การตรวจ                                ผลงานการทดสอบบันทึกจากผู้เกี่ยวข้อง การรายงานตนเองของผู้เรียน
                            แฟ้มสะสมงาน เป็นต้น
                        2. กำหนดเครื่องมือในการประเมินเมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของประเมินให้เป็นการ                                        ประเมินพัฒนาการของผู้เรียนรอบด้านตามภาพจริงแล้ว ในการกำหนดเครื่องมือจึง                                  เป็น  เครื่องมื่อที่หลากหลาย เป็นต้นว่า การบันทึกข้อมูล แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์                                แฟ้มสะสมงาน แบบทดสอบ
                  การนำแนวคิดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงไปใช้การจัดการเรียนการสอน
                       1. ก่อนนำใช้ สอนต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการประเมินตามสภาพจริงที่สำคัญที่สุด คือ                             การศึกษาด้วยตนเองและลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาความรู้จากการลงมือปฏิบัติ
                       2. การแนะนำให้ผู้เรียนจัดทำแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงานของผู้เรียน นอกจากจะแสดง                             พัฒนาการของเรียนแล้ว ยังเป็นการสะท้อนการสอนของผู้สอน  เพื่อจะนำไปปรับปรุง                               การเรียนการสอนต่อไป
   ที่มา พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560
                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น