การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นสิ่งสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านวามต้องการ ความสนใจ ความถนัดและยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้การเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมองระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ ครูแต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าครูยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไท่เหมาะสม จึงต้องทยทวนทำความเข้าใจซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป
แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ถือว่าเป็นความพยายามที่จะทำการปฏิบัติรูปการศึกษาครั้งสำคัญ ซึ่งดำเนินการจัดทำขึ้นด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ช่วยกันสร้างเปาหมายของการศึกษาไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เป็ฯกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษา และถือได่ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติรูปการศึกษา อาจสรุปหลักการได้ 7 ด้าน ดังนี้
1. ด้านความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.ด้านมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
3. ด้านระบบบริหารและการสับสนุนทางการศึกษา
4. ด้านครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
5. ด้านหลักสูตร
6. ด้านกระบวนการเรียนรู้
7. ด้านทรัพยากรและการลงทุนเพื่อศึกษา
จากหลักการสำคัญดังกล่าวข้างต้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ด้านหลักสูตร กล่าวถึงการปฏิบัติรูปหลักสูตรให้ต่อเนื่อง เชื่อมโยง มีความสมดุลในเนื้อหาสาระทั้งที่เป็นวิชาการ วิชาชีพ และวิชาว่าด้วยความมนุษย์ และทำให้มีการ บูรณาการเนื้อหาหลากหลายที่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
- ด้านกระบวนการเรียนรู้ กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และเป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
- ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นสำคัญ จะต้องประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง โดยการใช้วิธีการประเมินผู้เรียนหลายๆวิธี ได้แก่ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนและการร่วมกิจกรรม การใช้แฟ้มสะสมงาน การทดสอบ การสัมภาษณ์ ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนจะมีโอกาสแสดงผลการเรียนรู้ได้หลายแบบ ได้ชัดเจนมากขึ้น
องค์ประกอบด้าน "การจัดการเรียนรู้" นับว่าเป็นองค์ประกอบหลักที่แสดงถึงการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้บทบาทของครู และบทบาทของผู้เรียน
ครูต้องคำนึกถึงประเด็นต่างๆในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
- ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
- การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
- การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
- การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย
- ความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน
- การทักทายให้ผู้เรียนอยากรู้
- การตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
- การสร้างบรรยากาศหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยการปฏิบัติจริง
- การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
- การมีจุดมุ่งหมายของการสอน
- ความเข้าใจผู้เรียน
- ภูมิหลังของผู้เรียน
- การไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น
- การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (dynamic) กล่าวคือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้านการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบเนื้อหา สาระ เทคนิค วิธีการ
- การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
- การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
ที่มา พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น