นิยามการออกแบบการเรียนการสอน
ริตา ริชชีย์ ( Rita Richey, 1986:9 ) ได้นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่า หมายถึง วิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชี้เฉพาะเพื่อการพัฒนา การประเมินผลและการบำรุงรักษาสถานการณ์ หรือเงื่อนไขที่อำนวยความสะดวกให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชา (Unit of subject) ทั้งหน่วยใหญ่และหน่วยย่อย การนิยามของริชชีย์เป็นการให้ความกระจ่างกับความสัมพันธ์ของนักวิจัยซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอน แต่เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือบนพื้นฐานของความรู้ ในขณะที่ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้นิยาม การออกแบบการเรียนการสอน เป็นการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดหมายจุดเริ่มต้นของการออกแบบการเรียนการสอนควรเป็นการพิจารณาองค์ประกอบเบื้องต้นของระบบและพิจารณาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอน และไชยยศ เรืองสุวรรณ (ไชยยศ, 2533:12) ยังได้เสนอรอบแนวคิดของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนด้วยว่า มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
- ผู้เรียน
- จุดหมาย
- วิธีสอน
- การประเมินผล
โดยตั้งคำถามที่คล้ายกับคำถามของไทเลอร์ (Tyler, 1974:1) คือ
- จะออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้ไว้เพื่อใครเป็นกาพิจารณาคุณลักษณะผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ต้องการให้ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้างเป็นการกำหนดจุดหมายของการเรียน
- ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่างๆได้ดีที่สุดอย่างไรเป็นการกำหนดวิธีการสอนและกิจกรรมของการเรียนการสอน
- จะได้รู้ว่าผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้เป็นการกำหนดกระบวนการประเมินผล
ส่วนชีลล์และกลาสไกว์ ได้นิยามว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นทั้งกระบวนการและสาขาวิชา (process and discipline) ในฐานะที่เป็นกระบวนการจะเป็นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนเฉพาะที่ใช้การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนการสอนที่ให้ความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอน ในฐานะที่เป็นสาขาวิชา (discipline of an area of study) จะเป็นสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและทฤษฎีเกี่ยวกับความเฉพาะเจาจงในเรื่องของการเรียนการสอนและกระบวนการในการพัฒนาความเฉพาะเจาะจงนั้นๆการออกแบบการเรียนการสอนรวมถึง การสร้างสรรค์ความเฉพาะเจาะจงสำหรับสถานการณ์การเรียนการสอนและเพื่อการพัฒนา การประเมิน การบำรุงรักษา การเผยแพร่สถานการณ์การเหล่านั้น
อาจสรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาการเรียนการสอนโดยการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็ระบบ เพื่อให้บรรลุจุดหมายโดยอาศัยความรู้หลายๆทฤษฎีที่มา พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น