Blinking Pink Hello Kitty

ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้

ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้


ผู้เรียน 
 ผู้เรียนเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการออกแบบการเรียนการสอน หากผู้เรียนขาดความตั้งใจ
ไม่มีความสนใจในการเรียนและไม่สามารถเรียนรู้ได้ การเรียนการสอนของครูก็ล้มเหลว ไม่บรรลุผล
การเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนดไว้ ดังนั้นความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ
การเรียนรู้ เช่น พัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิด พัฒนาการทางจริยธรรม ธรรมชาติการเรียนรู้
และคุณลักษณะทั่วไปของผู้เรียน เหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งที่ครูหรือผู้ออกแบบการเรียนการสอนควรนำมา
พิจารณาเพื่อประกอบการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน
พัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิด
การศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาและการคิดในช่วงที่ผ่านมา ได้นำแนวคิดของเพียเจต์ ซึ่ง
แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์เป็น 4 ระยะ ตามลำดับขั้นตอน จากขั้นรับรู้ทางประสาทสัมผัสสู่ การรับรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ และเริ่มใช้เหตุผล แต่ยังเป็นการใช้เหตุผลจากการรับรู้ตามสิ่งที่เห็นและ
เริ่มเข้าใจเหตุผลตามความเป็นจริง จากนั้นจึงเข้าสู่การคิดขั้นสูงสุด คือ การคิดอย่างเป็นเหตุผลเชิง
ตรรกะแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถอธิบายเหตุผลและแก้ปัญหาได้
อิริคสัน (Ericson, cited in Smith & Ragan, 1999, p. 53) เป็นผู้ที่ศึกษาพัฒนาการทาง
บุคลิกภาพของบุคคลซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็กและการปฏิบัติของพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู
ตั้งแต่แรกเกิด โดยเชื่อว่าวัยเด็กเป็นวัยที่เรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ รอบตัว ถ้าประสบการณ์ในวัยเด็ก
สร้างความสุขความพอใจเด็กจะมีความรู้สึกทางบวกต่อสังคม แต่หากประสบการณ์ที่ได้รับสร้างความ
ทุกข์ใจให้ ความรู้สึกนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปทางตรงกันข้าม ความรู้สึกนี้มีผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล
 อิริคสัน
แบ่งพัฒนาการทางสังคมของเด็กเป็น 8 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ความเชื่อถือไว้วางใจหรือความระแวงไม่ไว้ใจ (trust versus mistrust)เป็นพัฒนาการ
ในช่วงวัยทารก (แรกเกิด - 1 ปี) ทารกพัฒนาอารมณ์ความรู้สึกไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจซึ่งเป็นผลมาจากการเอาใจใส่เลี้ยงดูของมารดา ถ้าความต้องการของทารกได้รับการตอบสนองสม่ำเสมอดี เช่น เมื่อทารกร้องไห้ต้องการอาหารหรือการเอาใจใส่จากแม่ และได้รับการตอบสนองดีจากแม่ ทารกจะเกิดความไว้วางใจหากการร้องไห้ไม่ได้รับความสนใจจากแม่ ทารกจะเกิดความรู้สึกคับข้องใจ เกิดความรู้สึกว่าตนไม่มีค่า
ระยะที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองหรือความไม่มั่นใจ (autonomy versus shame)เป็นพัฒนาการ
ในช่วงวัยเตาะแตะ (2-3 ปี) เป็นช่วงที่เด็กมีการรับรู้ไวในการขับถ่าย หากในวัยนี้เด็กสามารถควบคุม
การขับถ่ายของตนตลอดจนเคลื่อนไหวร่างกายตามความต้องการได้ จะช่วยให้เกิดความมั่นใจในตนเอง
ในทางตรงข้ามหากเด็กทำไม่ได้ อีกทั้งถูกแม่ทำโทษ เด็กจะเกิดความไม่มั่นใจ
ระยะที่ 3 ความคิดริเริ่มหรือความรู้สึกผิด (initiative versus guilt) เป็นพัฒนาการวัยเด็ก
ตอนต้น (3-5 ปี) เป็นช่วงวัยที่เด็กมีพัฒนาการทางภาษา และมีความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย
ได้ดีขึ้น ทำให้เด็กสามารถสื่อสารและกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามที่ตัวเองต้องการได้ ดังนั้น หากเด็กได้รับ
ความสนใจและการตอบสนองด้วยดีในสิ่งที่ตนเองทำ เด็กจะเกิดความมั่นใจและกล้าคิด กล้าทำ ในทาง
ตรงข้ามหากถูกลงโทษดุด่า เด็กจะรู้สึกผิดและกลัว
ระยะที่ 4 ความสามารถหรือความล้มเหลว (competence versus inferiority) เป็นพัฒนาการ
ในช่วงวัยประถมศึกษา เด็กในวัยนี้มีความสามารถและทักษะหลายอย่างที่ได้เรียนรู้ในโรงเรียน เช่น
การอ่าน การเขียน การคิดเลข ความสามารถในการใช้มือและสายตาเริ่มประสานกันเป็นอย่างดี ซึ่งทำ
ให้ผู้เรียนสามารถทำงานได้มากมาย ทักษะและความสามารถดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานที่ทำให้เด็กตระหนักในความสามารถของตน ในทางตรงข้ามถ้าเด็กไม่สามารถทำได้ ขาดทักษะที่ควรมีเด็กจะมีปมด้อยรู้สึกล้มเหลว
ระยะที่ 5 ความมีเอกลักษณ์หรือความสับสนในบทบาท (identity versus identity confusion)
เป็นพัฒนาการของผู้เรียนในวัยรุ่น วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการค้นหาเอกลักษณ์ของตนเองหากในวัยนี้ ผู้เรียนสามารถค้นหาบทบาทที่เหมาะสมกับตนเองได้เด็กจะไม่มีปัญหาในการหาเอกลักษณ์ประจำตน อย่างไรก็ตามการแสวงหาเอกลักษณ์ก็อาจทำให้วัยรุ่นเกิดความสับสนได้เพราะความไม่เข้าใจในบทบาทดังกล่าว
ระยะที่ 6 ความรู้สึกสนิทสนมหรือความโดดเดี่ยว (intimacy versus isolation) เป็นพัฒนาการ
ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งเป็นวัยที่บุคคลสร้างความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม ผู้ที่ผ่านวัยรุ่นด้วยความรู้สึก
เป็นตัวของตัวเองและค้นพบบทบาทที่เหมาะสมของตนเองได้จะสามารถสร้างความรู้สึกและความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นได้ ในทางตรงข้ามผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการค้นพบตนเองในช่วงวัยรุ่นจะรู้สึกโดดเดี่ยว
ระยะที่ 7 ความกระฉับกระเฉงหรือความเฉยเมย (generativity versus stagnation) เป็นพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง วัยนี้เป็นวัยของการมีบุตรและมีหน้าที่การงาน หากบุคคลประสบ
ความสำเร็จในครอบครัวและหน้าที่การงานก็จะมีความสุข เกิดความกระฉับกระเฉงในการดำเนินชีวิต
ในทางตรงข้ามผู้ที่ล้มเหลวจะรู้สึกเฉื่อยชา เฉยเมย ขาดความกระตือรือร้นในการดำเนินชีวิต
ระยะที่ 8 ความภาคภูมิใจหรือความสิ้นหวังท้อแท้ (integrity versus despair) เป็นพัฒนาการ
ในวัยชราหรือขั้นสุดท้ายของชีวิต ในวัยนี้สุขภาพร่างกายจะอ่อนแอลง ในขณะเดียวกันก็ตระหนักถึง
ความตายที่รออยู่ข้างหน้าซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นบุคคลในวัยนี้หากในช่วงที่ผ่านมาประสบ
ความสำเร็จจะรู้สึกถึงคุณค่าที่ตนมีอยู่ สามารถปรับตัวใช้ชีวิตที่มีอยู่อย่างมีความสุขได้ ในทางตรงข้ามผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวยอมรับตนเองและผู้อื่นได้จะมีความรู้สึกขมขื่น สิ้นหวังในบั้นปลายของการดำเนินชีวิตพัฒนาการทางจริยธรรม
ความเข้าใจการเรียนรู้
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษาที่เรียนวิชาปัญหาพิเศษ (2) ศึกษาความเข้าใจการเรียนและประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้รายวิชาปัญหาพิเศษ และ (3) ศึกษาปัญหาของการเรียนรู้รายวิชาปัญหาพิเศษของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ชั้นปีที่ 2 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุน้อยกว่า 25 ปี เป็นกลุ่มนักศึกษาภาคสมทบ แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และมีค่าใช้จ่ายในการเรียนต่อเดือน ประมาณ 2,501-5,000 บาท นักศึกษามีความเข้าใจการจัดการเรียนรู้วิชาปัญหาพิเศษในระดับมาก คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล ความสำคัญของปัญหาพิเศษ ส่วนที่นักศึกษาเข้าใจในระดับปานกลาง คือ วิธีการเขียนรายงานวิชาการ การนำเสนอและวัตถุประสงค์ของปัญหาพิเศษ สำหรับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้วิชาปัญหาพิเศษอยู่ในระดับมากคือ ความรู้ความสามารถของอาจารย์ที่ปรึกษา ในระดับปานกลางคือบุคลากรเพียงพอต่อการให้คำปรึกษาจัดอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาการเรียนรู้ พบว่า นักศึกษามีปัญหาในระดับมากคือ ขั้นตอนการวางแผนและการดำเนินการทดลอง 

คำสำคัญ : ความเข้าใจการเรียน   ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้   รายวิชาปัญหาพิเศษ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น