สภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานการเรียนการสอนปกติ
เมื่อมีการเขียน การจัดลำดับจุดประสงค์ และการสร้างแบบทดสอบแล้ว
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนก็พร้อมที่จะพัฒนากลยุทธ์เพื่อการออกแบบสภาวการณ์ของการเรียนรู้ต่างๆ
ที่จะทำประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์ ไม่ว่าการเรียนการสอนจะเป็นรูปแบบใด
ก็จะมีชุดของสภาวการณ์โดยทั่วๆ ไปที่ใช้กับทุกเหตุการณ์การเรียนรู้
ไดอาแกรมของซีลส์และคลาสโกว์ (Sells and Glasgow,1990:161) แสดงให้เห็นถึง สภาวการณ์การเรียนการสอน พื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ
สภาวการณ์เดียวกันนี้จะรวมอยู่ในการเรียนการสอนทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นการเรียนด้วยตนเองหรือการเรียนเป็นกลุ่มและไม่ว่าจะใช้สื่อหรือวิธีการเรียนการสอนใด
เช่น การเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ภาพยนตร์ สถานการณ์จำลอง ฯลฯ
บทนำ (Introduction)
จะช่วยนำความตั้งใจของผู้เรียนไปสู่ภาระงานการเรียนรู้ (Learningtask) จูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยชน์ของการประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์
และโยงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ใหม่กับการเรียนรู้เดิมที่มีมาก่อน
การนำเสนอ (Presentation) เป็นการนำเสนอสารสนเทศ
ข้อความจริง มโนทัศน์ หลักการหรือวิธีการให้กับผู้เรียน
ข้อกำหนดของการนำเสนอจะหลากหลายไปตามแบบของการเรียนรู้ที่จะให้ประสบความสำเร็จ
และขึ้นอยู่กับพฤติกรรมแรกเข้าเรียนหรือพฤติกรรมที่แสดงว่ามีความพร้อมถึงระดับที่จะรับการสอน
(Entry-leve behavior)
การทดสอบตามเกณฑ์ (Criterion test) เป็นการวัดความสำเร็จของผู้เรียนตามจุดประสงค์ปลายทาง
(Terminal objectives)
การปฏิบัติตามเกณฑ์ (Criterion practice) เกิดขึ้นในสถานการณ์เช่นเดียวกับการทดสอบปลายภาค
(การทดสอบหนสุดท้าย)โดยมีจุดประสงค์เพื่อการตัดสินผู้เรียนว่ามีความพร้อมที่จะสอบปลายภาคหรือมีความจำเป็นต้องเรียนซ่อมเสริม
การปฏิบัติในระหว่างเรียน (Transitional
practice)
เป็นการออกแบบช่วยผู้เรียนให้สร้างสะพานข้ามช่องว่างระหว่างพฤติกรรมที่แสดงว่ามีความพร้อมถึงระดับที่จะรับการสอนกับพฤติกรรมที่กำหนดโดยจุดประสงค์ปลายทาง
สิ่งสำคัญที่ควรจดจำเกี่ยวกับการปฏิบัติในระหว่างเรียน คือ
เป็นการเตรียมผู้เรียนเพื่อการแสดงออกซึ่งการปฏิบัติที่เป็นไปตามเกณฑ์
การแนะนำ (Guidance) เป็นการฝึกที่ฉับพลันที่ช่วยให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างถูกต้องในช่วงต้นของการปฏิบัติพบว่าจะมีการช่วยเหลือมากและจะค่อยๆลดลง
การช่วยเหลือจะอยู่ในช่วงปฏิบัติในระหว่างเรียนเท่านั้น
ส่วนในช่องของการปฏิบัติเกณฑ์ไม่ต้องช่วย
การให้ข้อมูลป้อนกลับ
เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการการปฏิบัติ เพื่อที่จะบอกกลับผู้เรียนว่า
ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง และจะปรับปรุงการปฏิบัตินั้นอย่างไร
การปฏิบัติแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีข้อมูลป้อนกลับไม่เป็นการเพียงสำหรับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ท่ีมา วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น