Blinking Pink Hello Kitty

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการเรียนรู้มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน สนองความแตกต่างระหว่าง บุคคล ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เรียนรู้อย่างมีความสุข ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพรอบด้านสมดุล
ตามนัยแห่งคำสอนของศาสนาพุทธ ปัญญาหรือความรอบรู้ของคนแต่ละคนมีอยู่ 2 ประการคือ
       1. สชาติกปัญญา คือ ความรอบรู้ ซึ่งติดตัวมาแต่เกิด เป็นผลของกรรมเก่าหรือที่เรียกว่า พันธุกรรม และที่เรียกว่า ไอคิวในภาษาอังกฤษ
       2. โยคปัญญา คือ ความรอบรู้ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ภายหลังการเกิด จะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือเรียนรู้โดยมีผู้สอน ก็จัดเข้าอยู่ในความรู้ประเภทนี้
อาร์ โรเจอร์ เป็นผู้คิดค้นและใช้คำนี้เป็นครั้งแรก “เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ” โดยเชื่อว่าวิธีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ โดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพสูงสุดของตนเอง โดยมีแนวคิดดังนี้
1. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน
2. เนื้อหาวิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียน
3. การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จ ถ้าผู้เรียนมีส่วนร่วม
4. สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียน การมีปฏิสัมพันธ์
5. ครูเป็นมากกว่าผู้สอน ครูเป็นทั้งทรัพยากรบุคคล เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นผู้อำนวยความสะดวก
6. ผู้เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม
7. การศึกษาเป็นการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆด้าน
8. ผู้เรียนได้รับความรู้วิธีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ
9. ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
10. การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย
11. การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสอนให้ผู้เรียนรู้จักวิพากษ์วิจารณ์
12. การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทำให้เกิดการนำตนเอง
13. การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
14. การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดการมโนทัศน์ของตน
15. การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการเสาะแสวงหาความรู้ความสามารถพิเศษของผู้เรียน
16. การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นวิธีการที่ดีจะช่วยดึงศักยภาพของผู้เรียน 


ที่มา พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

👀👀👀👀👀👀👀👀👀👀👀👀👀

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น