ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน
ทฤษฎีการเรียนการสอน (Theory
of instruction)
เป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดของประสบความสำเร็จในความรู้หรือทักษะ
ทฤษฎีการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะสอนให้ผู้เรียนเรียนรู้ให้ดีที่สุดได้อย่างไรด้วยการปรับปรุงแทนที่จะพรรณนาการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการพัฒนาการมีความสัมพันธ์กับทฤษฎีการเรียนการสอน
ตามความเป็นจริงแล้วทฤษฎีการเรียนการสอนต้องเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และพัฒนาการดีเท่าๆกับเนื้อหาวิชาและต้องมีความสมเหตุสมผลท่ามกลางทฤษฎีอื่นๆ
ที่มีอยู่หลากหลาย ทุกทฤษฎีจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
สำหรับทฤษฎีการเรียนการสอนมีลักษณะสำคัญสี่ประการ คือ (Bruner,1964:306-308)
ประการแรก
คือ
ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะประสบการณ์ซึ่งปลูกฝังบ่มเฉพาะบุคคลให้โอนเอียงสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
หรือเป็นการเรียนรู้ที่สุด หรือเป็นการเรียนรู้ชนิดพิเศษ
ตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ชนิดใดที่มีโอกาสต่อโรงเรียนและต่อสิ่งต่างๆในสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนอนุบาล
ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้เด็กตั้งใจและสามารถเรียนรู้เมื่อเข้าโรงเรียน
ประการที่สอง
คือ
ทฤษฎีการเรียนการสอนต้องชี้เฉพาะวิธีการจัดโครงสร้างองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อมที่สุดสำหรับผู้เรียนที่จะตักตวงความรู้นั้น
ความดีของโครงสร้างขึ้นอยู่กับพลังในการทำสารสนเทศให้มีความง่ายในการให้ข้อความใหม่
ที่ต้องพิสูจน์และเพื่อเพิ่มการถ่ายเทองค์ความรู้ มีอยูเสมอที่โครงสร้างต้องสัมพันธ์กับสถานภาพและพรสรรค์ของผู้เรียนด้วย
ประการที่สาม
คือ ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการนำเสนอสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
ตัวอย่างเช่น ผู้สอนคนหนึ่งปรารถนาที่จะสอนโครงสร้างทฤษฎีฟิสิกส์สมัยใหม่
เขาทำอย่างไร เขานำเสนอสาระที่เป็นรูปธรรมก่อนด้วยวิธีการใช้คำถามเพื่อสืบค้นความจริงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่เรียนต้องนำไปคิดซึ่งทำให้ง่ายขึ้นเมื่อเผชิญกับการนำเสนอกฎนี้อีกครั้งในภายหลัง
ประการสุดท้าย
คือ
ทฤษฎีการเรียนรู้ควรชี้เฉพาะธรรมชาติและช่วงก้าวของการให้รางวัลและการลงโทษในกระบวนการเรียนรู้และการสอน
ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้มีจุดที่ดีกว่าที่จะเปลี่ยนจากรางวัลภายนอก (Extrinsic
rewards) เช่น คำยกย่องสรรเสริญจากครู ไปเป็นรางวัลภายใน (Intrinsic
rewards) โดยธรรมชาติในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนสำหรับตนเอง ดังนั้น
การให้รางวัลทันทีทันใด ควรแทนที่ด้วยรางวัลของการปฏิบัติตามหรืออนุโลมตาม (Deferred
rewards) อัตราการเคลื่อนย้ายหรือการเปลี่ยนแปลงจากรางวัลภายนอกไปสู่รางวัลภายในและจะได้รางวัลทันใดไปสู่รางวัลการอนุโลมตาม
เป็นเรื่องที่เข้าใจยากและมีความสำคัญอย่างเห็นได้ชัด
ที่มา วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น