การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
สำหรับประเทศไทยได้จัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษามาระยะหนึ่ง
โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ.2545 เป็นแม่บทหรือเทศทางและนำลงสู่การปฏิบัติด้วยการกำหนดเนื้อหาสสาระที่เกี่ยวข้องสำคัญหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544และพัฒนาเป็นหลักสูตรศึกษาสำหรับสถานศึกษาแต่ละแห่งตามความเหมาะสม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายรับรองผู้มีความเกี่ยวข้องต้องถือปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมายภายใน 3 ปี แต่ปรากฏว่าระยะเวลาล่วงเลยมาเป็นปีที่ 10 แห่งการใช้พระราชบัญญัตินี้กลับล้มเหลวเกือบจะสิ้นเชิง ทั้ง ๆ ที่นโยบายในระดับสูงมุ่งมั่นที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ ผู้ปฏิบัติ เช่น สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน
ปัญหาการปฏิรูปการเรียนรู้ สิ่งที่บ่งชี้ว่าต้องปฏิรูปการเรียนรู้ คือ
1. ห้องเรียน (Class Room) เพราะห้องเรียนเป็นกรอบในการปกครอง
ควบคุมดูแลนักเรียน ให้อยู่ในระเบียบวินัย เพื่อจะได้เรียนวิชาความรู้ ทั้ง ๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยให้เขาเกิดการเรียนรู้ เพราะบรรยากาศการเรียนรู้ที่อึดอัด ห้องเรียนที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรเลย กี่ปีผ่านไปห้องเรียนก็ยังอยู่ในสภาพเก่า ๆ เดิม ๆ ไม่ได้เอื้อให้เกิดการใฝ่เรียนใฝ่รู้ หรือส่งเสริมให้คิดกว้าง คิดไกล ใฝ่รู้ อยู่อย่างเป็นสุข ได้อย่างเหมาะสม
2. สื่อนวัตกรรม (Innovation) ที่ผ่านมาการผลิตสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา
ได้รับความเอาใจใส่ แต่บางครั้งยังใช้สื่อไม่หลากหลาย ไม่ทันสมัย ไม่น่าสนใจ ไม่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ เช่น หนังสือหรือตำราเก่า ๆ สื่อเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ใช้ยาก
3.วิธีสอน (Method) ปัญหาอยู่ที่กระบวนการที่จัดให้แก่ผู้เรียนที่ไม่ได้เน้นให้
เกิดการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้ขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น เป็นคนช่างสังเกต ช่างสงสัย ใฝ่หาคำตอบ เพราะวิธีการสอนที่ใช้ยังเป็นการสอนหนังสือมากกว่าการสอนคน และขาดความเชื่อมโยงจากภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
4. ครู (Teacher) การปฏิรูปการเรียนรู้จะเกิดขึ้นหรือไม่ ครูถือเป็นผู้มีบทบาท
สำคัญมากที่สุด เพราะครูยังยึดมั่นตนเองว่าเป็นผู้มีความรู้มากที่สุด ถูกที่สุด ไม่ยอมปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน ยังใช้วิธีถ่ายทอดความรู้แบบเดิม ๆ ล้าสมัย ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น และไม่สนใจที่จะพัฒนาตนเอง ครูแบบนี้ยังมีอยู่จำนวนมากในระบบโรงเรียน
5.กระบวนการเรียนรู้ (Process Learning) ไม่น่าสนใจ น่าเบื่อหน่าย
เพราะครูยังยึดเกณฑ์เนื้อหา ความรู้ การสอบ คะแนน เป็นตัวกำหนดหรือตัดสินความสำเร็จของผู้เรียน จึงทำให้เกิดความเครียด ไม่มีความสุขในการเรียน ไม่เป็นที่พอใจของผู้ปกครอง กระบวนการเรียนการสอนยังเป็นพฤติกรรมถ่ายทอดมากกว่าการปฏิบัติ การฝึกหัด การอบรมบ่มนิสัย ผู้เรียนเคยชินกับการนั่งนิ่ง เงียบ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่กล้าแสดงออก ขาดความคล่องตัวในการที่จะฝึกคิดวิเคราะห์ คิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่รับรู้การปลูกฝังความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติ แต่ไวต่อการรับวัฒนธรรมของต่างชาติ
6.โรงเรียน (School) เป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในระบบ ข้อบังคับ มีระเบียบ
แบบแผน มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย มีการบังคับบัญชาหลายระดับ บางครั้งงานพิเศษมีมากมาย ที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องทำ จนทำให้เสียหายต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โรงเรียนจะติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ สักฉบับ ต้องเสียครูหรือครูต้องทิ้งห้องเรียนไปเกือบตลอดวัน แล้วอย่างนี้เด็กนักเรียนจะเรียนเก่งได้อย่างไร
7.ผู้บริหารสถานศึกษา (Head of school) ในสถานศึกษาบางแห่งผู้บริหารจะ
เป็นตัวปัญหาที่ทำให้การปฏิรูปการเรียนรู้ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะผู้บริหารขาดภาวะผู้นำ ขาดความสามารถในการบริหารจัดการ ขาดประสบการณ์ หรืออาจเป็นเพราะมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่สามารถครองตน ครองคน ครองงานได้ จึงทำให้เกิดความล้มเหลวในการบริหารและปฏิรูปการเรียนรู้
เกษม วัฒนชัย (2545 : 18-20) กล่าวว่าการเรียนรู้คือหัวใจของการปฏิรูป
มุ่งเน้นกระบวนการปลูกฝัง ถ่ายทอด ฝึกอบรม ให้เกิดความรู้ เจตคติ ความเข้าใจ ความเชื่อศรัทธา ระบบคุณค่า ระบบคุณธรรม การควบคุมและการดูแลตนเอง ทักษะและการทำงานให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผผู้เรียน ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งเสริมสร้างแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง (ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา. 2544 : 80)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น