Blinking Pink Hello Kitty

แนวทางการวางแผนการสอน

แนวทางการวางแผนการสอน

ในการวางแผนการสอนนั้น ผู้สอนหรือผู้วางแผนต้องศึกษารายละเอียดของข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องและนำมาพิจารณาในการวางแผนการสอน ข้อมูลเหล่านี้ได้แก่
  1. สภาพปัญหาและทรัพยาก เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้สอนรวบรวมได้จากการสำรวจปัญหาและตรวจสอบทรัพยากรในแง่กำลังคน งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ผู้วางแผนกำหนดรูปแบบการสอน กิจกรรมการเรียนและสื่อการสอนได้ชัดเจนขึ้น
  2. การวิเคราะห์เนื้อหา โดยการแยกแยะแจกแจงเนื้อหาหรือแนวคิดที่ปรากฏในตำรา หนังสือ เอกสาร ข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ บทสนทนา หรือรูปภาพ วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ เนื้อหาเพื่อผลิตสื่อการสอน โดยผู้สอนมักมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งเนื้อหาทำให้ทราบโครงสร้าง ลำดับของเนื้อหา และขอบเขตเนื้อหาอย่างละเอียด รวมทั้งทำให้ผู้สอนเห็นการเปลี่ยนแปลงของเนื้อหาในแต่ละช่วงเวลาที่ทำการวิเคราะห์ด้วย และผลจากการแยกแยะแจกแจงเนื้อหาช่วยให้สามารถแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นหัวเรื่อง หัวเรื่องย่อยและหัวข้อย่อย
  3. การวิเคราะห์ผู้เรียน  ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใด  ทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดี ย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน    ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับความรู้   สังคม   เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของบทเรียนและเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้   ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับเนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน
  4. ความคิดรวบยอด เป็นการคิด การสื่อความหมายระหว่างกัน การแก้ปัญหา  การตัดสินใจ  ล้วนต้องผ่านเครื่องกรองที่เป็นความคิดรวบยอดมาก่อนทั้งสิ้น”  (ยุวดี  เพ็ชรประไพ, 2540)  ครูผู้สอนจึงควรให้ความสำคัญกับความคิดรวบยอด  ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการเรียนรู้ความคิดรวบยอดเพื่อเป็นพื้นฐานและเครื่องมือในการเรียนรู้  และนำไปใช้ในชีวิตจริงต่อไป
  5. วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์จะเป็นข้อความที่แสดงถึงความต้องการที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ  ภายในโครงการให้ปรากำผลเป็นรูปธรรม  ซึ่งข้อความที่ใช้เขียนเป็นวัตถุประสงค์จะต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ  สามารถวัดและประเมินผลได้  โครงการแต่ละโครงการสามารถมีวัตถุประสงค์ได้มากกว่า  1  ข้อ  ลักษณะของวัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับระดับและขนาดของโครงการ  เช่น  ถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่  วัตถุประสงค์ก็จะมีลัษณะที่กว้างเป็นลักษณะวัตถุประสงค์ทั่วไป  หากเป็นโครงการขนาดเล็ก  สามารถลงปฏิบัติการในพื้นที่เป้าหมายหรือปฏิบัติงานในลักษณะที่แคบเฉพาะเรื่องเฉพาะอย่าง  วัตถุประสงค์ก็จะมีลักษณะเฉพาะ  หรือโดยทั่วไปจะเรียกว่าวัตถุประสงค์เฉพาะ  ถึงอย่างไรก็ตามการเขียนวัตถุประสงค์ในดครงการแต่ละระดับ  แต่ละขนาดจะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกันวัตถุประสงค์ของโครงการย่อย  จะต้องสัมพันธ์และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการขนาดใหญ่
  6. กิจกรรมการเรียน  วิธีการ/กิจกรรมที่ครูหรือผู้เกี่ยวข้อง แหล่งข้อมูลที่เด็กๆ สามารถเข้าถึงได้ น่าสนใจและเหมาะสมกับวัย แต่ไม่ได้บรรจุอยู่ในหลักสูตรยังมีอยู่มากมาย “เรียนรู้คือความสุข” เป็นกิจกรรมมีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมหลายหลากที่น่าสนุก ชวนติดตามและเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ให้กับเด็กๆ กิจกรรม “เรียนรู้คือความสุข” ได้ให้อะไรมากมายหลายอย่างกับนักเรียนที่โรงเรียนฯ
  7. สื่อการสอน วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะ ในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมี คุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่ เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
  8. การประเมินผล เป็นกระบวนการดำเนินงานด้านการกำกับควบคุม เพื่อติดตามความก้าวหน้าของภารกิจและหรือประเมินว่าภารกิจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ การติดตามประเมินผล โดยปกติจะต้องกำหนดดัชนีการติดตามประเมินผลเพื่อเป็นเกณท์ในการพิเคราะห์ว่าสถานการณ์ที่ตรวจสอบวัดได้นั้นบรรลุหรือไม่บรรลุ 
ที่มา พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น